สวัสดีครับวันนี้ดีไซเนอร์ร้านตัดสูท DGRIE จะมาแนะนำแนวทางการตัดสูทเพื่อให้ท่านที่กำลังสนใจจะตัดสูทหรือมีสูทอยู่แล้วและกำลังอยากตัดเพิ่มแต่ยังไม่มีแนวทางหรือไอเดียในการตัดสูทก็สามารถตามอ่านบทความนี้ได้เลยครับ
“ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการตัดสูท”
สำหรับสุภาพบุรษที่ยังไม่เคยตัดสูทหรือมีแต่สูทแบบซื้อสำเร็จ (Off The Rack Suits) และกำลังต้องการตัดสูท (MTM Suits, Bespoke Suits) ยังไม่มีประสบการณ์ในการตัดสูทมากก่อน คุณอาจจะเริ่มจากการสำรวจตัวเองก่อนจะดีที่สุด ว่าคุณสบายใจกับการแต่งตัวแนวไหน, คุณมั่นใจที่สุดกับการแต่งตัวแบบไหน, ทรงแบบไหน,
“อย่าให้กระแสนิยมมา บดบัง ความเป็นตัวคุณ”
จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทุกอย่างไม่ควรมากเกินไป หรือ น้อยเกินไป ควรเลือกสิ่งที่คุณสบายใจมากที่สุดและไม่พยายามจนเกินไป เช่น ใส่ ฟิตมากเกินไป จนเลยความเป็นตัวเองไปที่ชอบใส่อะไรสบายๆ ในจุดนี้อาจจะทำให้คุณ เกลียดการใส่สูทไปเลยก็ได้! เพราะมันทำให้คุณรู้สึกอึดอัดทุกครั้งที่ต้องใส่เสื้อสูท ในทางตรงกันข้ามก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นทุกอย่างควรอยู่ในความพอดี สำหรับร้านตัดสูท DGRIE เรามุ่นเน้นกับทรง ที่เป็นตัวของตัวเองสำหรับลูกค้ามากที่สุด
“เคยมีประสบการณ์ในการตัดสูท”
และสำหรับท่านที่เคยตัดสูทมากก่อนแน่นอนว่าคุณคงผ่านประสบการณ์การเลือกดีเทลต่างๆในตัวสูทมาบ้างแล้วที่พอจะเรียบเรียงเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการตัดสูทตัวต่อไป รวมถึงความผิดพลาดที่คุณได้เลือกผิดพลาดไป! และรู้สึกว่าไม่เหมาะกับเรา, แน่นอนกว่าหลายท่านอาจจะค้นพบว่า แบบไหน คือสไตล์ที่เราชอบหลังตัดสูทมาทั้งหมด 2-3 รอบแล้ว โดยคำนึงถึงสิ่งที่คุณจะปรับเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในครั้งก่อน รวมถึงแบบผ้าที่บ่งบอกความเป็นตัวของคุณมากที่สุด! คุณอาจจะหลุดออกจากกรอบเซฟโซน(Safe Zone) เพื่อแสดงออกมาในรูปของลายผ้าในมุมต่างๆ หลายครั้งที่คุณเลือก ลายผ้าเรียบๆ สีเข้มๆ ในครั้งนี้คุณก็จะได้เริ่ม เลือก ผ้า ลายตาราง (Check), สูทลายทาง (Stripe), สูทลายก้างปลา (Herringbone), ตานก (Bird-Eyes), etc และอื่นๆ ที่คุณต้องการความแตกต่างมากยิ่งขึ้น รวมถึงการ คอนทราสต์ (Contrast) ที่มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ เสื้อสูทตัวใหม่ของคุณดูตื่นเต้นขึ้นไปอีก และคุณจะเริ่มรู้สึกถึงความมั่นใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย!
10 เทคนิค ตัดสูทให้ตรงใจ ตัดเสื้อสูทใหม่ทั้งทีต้องตัดให้หล่อถูกใจ
1.สไตล์ (Style)
ลองสำรวจตัวคุณหน่อยว่า สไตล์ของคุณเป็นอย่างไร แน่นอนว่าก่อนจะไปส่วนอื่นๆ คุณควรเริ่มจาก สไตล์การแต่งตัวของคุณเป็นอันดับแรกก่อน เพื่อให้ง่ายแก่การ Focus ในดีเทลของตัวเสื้อสูทในลำดับถัดไป, เบื้อต้นทางดีไซเนอร์ของแบ่งเป็น สไตล์ ง่ายๆที่จะตอบคุณในส่วนนี้ ผ่านทรงเสื้อเดิมที่คุณถูกใจ โดยให้ลองสังเกตจาก เสื้อเชิ้ต และ กางกงที่คุณใส่เป็นอันดับแรก เช่น เสื้อเชิ้ตคุณมักใส่ทรง Super Slim Fit (เน้นให้เห็นกล้ามแขน) , Slim Fit (เข้ารูปปกติ) หรือ ทรงสบายๆไม่อึดอัดแต่ไม่หลวมไป (Regular Fit) , หลวมๆ (Over Size Fit) จากสไตล์ส่วนนี้ก็พอจะบอกได้ว่า คุณเป็นคนชอบใส่ Body Fit แบบไหน สำหรับเสื้อสูทก็ควรเป็นไปในทางเดียวกันครับ
2.ประเภทการใช้งานของสูทที่คุณกำลังจะตัด (Suits for Different Occasions)
ส่วนที่สำคัญตามมาจาก “Body Fit” ของเสื้อสูทก็คือ “ประเภทการใช้งาน (Occasions)” แบบไหนตอบโจทย์สำหรับชุดสูทชุดนี้มากที่สุด
หากคุณ บอกว่า สูทตัวนี้เน้นใส่ได้หลากหลายงาน งานประชุม งานแต่งงาน งานสัมนา และ อื่นๆอีกมากมาย แน่นอนว่า หากคุณต้องการเป็น “สูท” ที่สามารถใส่ได้ทุกงาน สิ่งที่จะบอกคุณคือ “เลือกแบบ Basic เข้าไว้ สีเรียบๆ ใส่ได้บ่อยๆคนจำไม่ได้”
แต่หากคุณบอกว่า ต้องการสูทสำหรับงานแต่งงาน งานเดียวพอเอาให้เท่ห์ระเบิดจนคนจำได้ติดตา แปลว่าคุณต้องเพิ่มจุดเด่นให้กับสูทของคุณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ เช่น เลือกเป็น Tuxedo Suits (เลือกตัดสูทแต่งงานโดยเฉพาะ)
หรือ เน้นใส่เที่ยว เป็น Blazer (เสื้อตัวนอกกับกางเกง สีอื่นๆ) ก็เลือก เป็นสไตล์ผ้า Check Suits, Hopsack Wool, Flannel ได้เลย ได้ทุกลายเลยครับ
3. ปก (Suits lapel)
เมื่อเราได้ สไตล์ และ ประเภทของสูท ที่ต้องการแล้ว เราก็จะมาลงรายละเอียดของตัวสูทกัน สำหรับในส่วนที่สำคัญที่สุดที่มองเห็นเป็นอันดับต้นๆคือ “ปก” (Lapel) ใช่ครับ ปกสูท เป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุดของสูท
ปกสูทนั้นจะแบ่งเป็นทั้งหมด 3 แบบ
3.1 Notch Lapel (ปกรูปแบบปกติ)
รูปแบบนี้เรียกว่า นอช หรือ เรียกว่าปกธรรมดามาตรฐาน ให้ความรู้สึกเป็นกลาง สามารถสวมใส่ได้ทุกโอกาศ แต่ความแตกต่างของปกธรรมดานั้น เช่น
“ขนาด” หากปกมี ขนาดเล็ก ก็จะดูโมเดิร์นมากกว่าเหมาะสำหรับคนที่มีรูปร่างเล็ก ปกก็เล็กตามไปด้วย, ปกขนาดใหญ่ จะทำให้มีความเป็นทางการมากยิ่งขึ้น , และดูคลาสสิคมากยิ่งขึ้น “ความลาดเอียงของทรงปก” ซึ่งปกที่เป็นแบบรุ่นคุณพ่อนั้นจะสังเกตว่าจะมีความลาดมากกว่าปัจจุบัน โดยที่ปัจจุบันจะมีความชันมากกว่า ซึ่งตรงนี้จะอยู่ที่ความชอบของแต่ละท่านมากกว่า
3.2 Peak Lapel (แบบปกทรงปลายแหลม)
รูปแบบปกนี้เรียกว่า พีค หรือเรียกว่าปกแหลม ให้ความรู้สึกลำลองมากกว่าแบบอื่นๆ นิยมตัดเป็นทั้งแบบลำลองและทางการ แบบลำลองจะเป็นแบบเสื้อผ้าลาย สวมใส่กับกางเกงผ้าเรียบๆ ขนาดของปกสูทก็มีส่วนบ่งบอกถึงลักษณะการแต่งกาย เช่น ปกแหลมเล็ก บ่งบอกถึงความเป็นโมเดิร์นทันสมัย, ปกแหลมใหญ่ บ่งบอกถึงความคลาสสิคและความสุขุมนุ่มลึก มีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
สามารถอ่าน บทความ สูทปกแหลม (Peak Lapel)
ของเราได้ที่ https://www.dgrie.com/blog/peaked-lapel-suits/
3.3 Shawl Lapel (ปกกล้วย)
แบบปกทรงนี้จะมีความเป็นทางการมากที่สุด ส่วนมากใช้กับชุดทักซิโด้เป็นส่วนใหญ่ โอกาศในการสวมใส่จะน้อยกว่าแบบอื่นๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นปกกล้วยที่ใช้ผ้าเงาบริเวณปกเป็นส่วนมากในรูปแบบทักซีโด้ แต่บางครั้งบางท่านก็ปรับให้เป็นปกกล้วยผ้าปกไม่เงาเพื่อให้สามารถสวมใส่งานทั่วๆไปได้ครับ ขนาดของปกทรงนี้ก็มีส่วนสำหรับ จะมีทรงอ้วนและทรงผอม ทรงอ้วนจะมีความเป็นทางการมากที่สุด, ทรงผอมจะให้ความรู้สึกเป็นทางการน้อยลง
สูทปกกล้วย (Shawl Lapel): https://www.dgrie.com/blog/shawl-lapel/
อ้างอิง: https://www.dgrie.com/blog/suits-lapel/
4. จำนวนกระดุมสูทด้านหน้า (Suit Buttons)
มาต่อกันที่ กระดุม! ด้านหน้าของสูท แล้วคุณจะเริ่มเห็นสไตล์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น, กระดุมด้านหน้านั้นมีตั้งแต่ 1 เม็ด, 2 เม็ด , 3 เม็ด , 4 เม็ด, 6 เม็ด แต่ละแบบก็บ่งบอกถึงสไตล์อย่างชัดเจนที่สุด
4.1 กระดุม 1 เม็ด (Single Button)
แบบกระดุมสูท 1 เม็ด ส่วนมาจะเหมาะสำหรับ Tuxedo Suits, Blazer, Sport Jacket, Casual Suits จำนวนกระดุม 1 เม็ดทำให้สูทของคุณดูลำลอง แต่จะมาใช้กับสูททำงานหรือทางการก็ไม่ผิด! สไตล์คุณเป็นผู้กำหนด
4.2 กระดุม 2 เม็ด (2 Buttons)
แบบกระดุมสูท 2 เม็ด จะเป็น Standard Suits Button, ที่ส่วนใหญ่ 80% เลือกตัด เพราะเป็นแบบมาตรฐาน ที่ไม่ต้องคิดมากในการสวมใส่ เป็น Basic ที่เรียบง่ายและใช้งานได้บ่อยที่สุด หากคุณเน้นเรื่อง “เสื้อสูทตัวนี้ต้องใส่ได้บ่อยๆ” ก็แนะนำให้เลือก กระดุม แบบ 2 เม็ดครับ
4.3 กระดุม 3 เม็ด (3 buttons)
แบบกระดุมสูท 3 เม็ด ส่วนในสมัยนี้จะนิยมแบบ (three-roll-two) เรียกว่าไทยๆว่า ทำกระดุม 3 เม็ด แต่ติดแค่ เม็ดกลาง หรือ ติดกระดุมเริ่มจากเม็ดที่สอง ส่วนเม็ดบนสุดให้โค้งไปตามทรงของปก, สไตล์นี้ถือเป็นสไตล์ยอดนิยม ของเหล่า บรรดา Classic Men ชื่นชอบ ความคลาสสิคอย่างแน่วแน่ แต่ปกสูทของคุณต้องไม่เล็กเกินไปนะ หากต้องการ Roll ที่สวยเนี๊ยบ การดูแลความโค้งนี้ก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ อย่าให้ใครมากดทับเชียวหละ!
4.4 กระดุม 4 เม็ด (4 Buttons Double Breasted Suits)
ข้ามกันมาที่ แบบกระดุม 4 เม็ด ซึ่งเราแนะนำให้เป็นแบบ กระดุม สองแถวไปเลยครับ Double Breasted Suits สำหรับ แบบ Single Breasted Suits 4 กระดุม ดูจะเยอะเกินไปสักหน่อย แน่นอนว่า แบบ กระดุมสองแถวนั้น ผู้ส่วมใส่ต้องมั่นใจในหุ่นของตัวเองพอสมควรและ ต้องการความเป็นทางการเป็นพิเศษ สำหรับโอกาศในการสวมใส่ที่พิเศษ เช่นงานดินเนอร์ใต้แสงจันทร์ หรือ งานประชุมที่ต้องการความเนี๊ยบคบกริบ! แบบนี้แนะนำปก เป็นแบบ Peak Lapel (แบบปกทรงปลายแหลม) เท่านั้น
4.5 กระดุม 6 เม็ด (6 Buttons Double Breasted Suits)
แบบกระดุมที่มากที่สุดที่ดีไซเนอร์เราแนะนำคือ แบบ กระดุม 6 เม็ด แน่นอน ต้องเป็นสูทสไตล์ กระดุมสองแถว Double Breasted Suits ที่เน้นความเป็นทางการในระดับสูง รองจาก Tuxedo Suits, แบบนี้แนะนำปก เป็นแบบ Peak Lapel (แบบปกทรงปลายแหลม) เท่านั้นเช่นเดียวกับ แบบ กระดุม 4 เม็ด
5. แบบผ่าหลังของเสื้อสูท (Suits Vent)
หลายท่านยังสงสัยว่าผ่าหลังเลือกอย่างไรให้เหมาะกับเราและผ่าด้านหลังนั้นมีความหมายว่าอย่างไร วันนี้ทาง ดีไซเนอร์จากร้าน DGRIE จะมาแนะนำเรื่องการเลือกผ่าหลังของสูทอย่างไรให้เหมาะสม
ประโยชน์ของผ่าหลังคือช่วยให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถลุก–นั่ง ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นและสามารถเคลื่อนไหวได้ไม่ติดขัดบริเวณช่วงสะโพก อีกทั้งยังช่วยให้คุณสามารถเอามือล้วงกระเป๋ากางเกงได้ ในขณะที่ยังติดกระดุมสูทอยู่นั้นเอง.
รูปแบบของการผ่าหลังมีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือผ่านด้านข้าง, ผ่าตรงกลาง, ไม่ผ่าเลย
5.1 ผ่ากลาง (Center Vent)
รูปแบบผ่ากลางเป็นรูปแบบที่คุ้นตามากที่สุดสำหรับบางท่านและเป็นรูปแบบการผ่าที่เรียบง่ายที่สุด
ซึ่งบางครั้งก็เรียกผ่าแบบนี้ว่าเป็น American style เป็นรูปแบบการผ่าที่พบเห็นได้ง่ายที่สุด ในต่างประเทศเป็นที่นิยมมากที่สุดในช่วง กลางศตวรรษที่ 20, ผ่ากลางเป็นที่นิยมมากที่สุดในรูปแบบงานที่เป็นสูทสำเร็จรูปทั่วไปเพราะดูจะเบสิกมากที่สุดและเหมาะกับทุกคนและใช้งานได้ง่าย และที่สำคัญผ่ากลาง “ไม่มีปัญหา” สำหรับผู้ที่มี “รูปร่างใหญ่” เพราะ ตัวผ่าจะดูเรียบสวยมากกว่าแบบผ่าด้านข้าง, ในต่างประเทศรูปแบบผ่ากลางมักนิยมตัดกับผ้าแจ็คเก็ตแบบลำลอง
5.1 ผ่าด้านข้าง (Side Vent)
สำหรับผ่าข้างนั้นบางท่านอาจจะไม่คุ้นตามากนักเลยทำให้ความสำคัญของการใช้งานผ่าข้างนั้นลดน้อยลงไป ซึ่งบางครั้งก็อาจจะดูเป็นรูปแบบที่ลำลองไปเลย ในต่างประเทศรูปแบบผ่าข้างนั้น จะมองเป็นสไตล์ “British Style & European Style”, ผ่าด้านข้างจะมีช่วงระยะเวลาการตัดเย็บนานกว่าแบบผ่ากลาง, ผ่าด้านข้างมักให้ความรู้สึกที่ทันสมัยมากกว่าแบบผ่ากลาง, สูทสั่งตัดมักนิยมสั่งตัดผ่าข้างมากกว่าแบบผ่ากลาง
5.3 แบบไม่ผ่าเลย (No Vent)
ไม่ค่อยนิยมเท่าใดนักเนื่องจากค่อนข้างจะดูล้าสมัยมากกว่าแบบอื่นๆ ต่างประเทศอาจมีการใช้รูปแบบไม่ผ่าหลังกับชุดทักซิโด (Tuxedo), และรูปแบบนี้จะไม่เหมาะกับผู้ที่ใส่สูททรงเข้ารูป เพราะจะทำให้ไม่มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน, สำหรับบางท่านที่ชื่นชอบแบบไม่ผ่ามากกว่าก็อาจจะเป็นเพราะไม่ผ่าทำให้ด้านหลังดูเรียบมากกว่ารูปแบบอื่น
*ในมุมของความทันสมัยของการผ่านั้นไม่ค่อยมีความจำเป็นที่จะไปกำหนดความทันสมัยเท่าใดนักเพราะการผ่าด้านหลังของเสื้อสูทเป็น เมน คลาสสิค สไตล์ (Men’s Classic Style) ที่จะไม่เปลี่ยนแปลงง่ายๆแน่นอน
บทความ การเลือกผ่าหลังเสื้อสูทจาก: https://www.dgrie.com/blog/suit-vents/
6. แบบหัวไหล่ (Shoulder Style)
แบบของหัวไหล่ เสื้อสูท มีทั้งหมด 3 แบบ
6.1 Sloping Shoulder (American, Neapolitan) / The Unstructured Shoulder / Spalla camicia, shirt shoulder
สไตล์ไหล่ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สร้างจากชั้นรองระดับที่บางมาก เข้าวงแขนด้วยมือที่มีระดับความยากพอสมควร เหมาะสำหรับผ้าสไตล์แคชชวลและทางการ ที่สำคัญเหมาะกับคนไหล่ตั้งจนถึงลาดไม่มาก แต่ไม่เหมาะสำหรับคนไหล่ลาดพิเศษ เนื่องจากทำให้ไหล่เราดูลาดมากไม่เสริมบุคลิกภาพ แต่ข้อดีคือทำให้หัวไหล่เรากลมสโลปตามไหล่
6.2 Straight Shoulder (British)
สูทที่เน้นหัวไหล่ระดับกลางพบบ่อยมากที่สุด เสริมบุคคลิก สามารถใส่ได้ทั้งคนไหล่ลาด ไหล่ตั้ง และไหล่ระดับปรกติ เรียกได้ว่าครบทุกรูปร่างมีการเน้นหัวไหล่เล็กน้อยในระดับหนึ่ง มีความเป็นทางการสูง และยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีไหล่เล็กๆอีกด้วย
6.3 Pagoda Concave “Rope” Shoulder (Italian, French)
ทรงไหล่แบบคลาสสิคที่มีความนูนมากกว่าปรกติ เราเรียกว่า “Rope” ส่วนมากไม่ค่อยนิยมในเมืองไทยมากนักเนื่องจากคนไทยเราส่วนมากจะมีไหล่ที่ตั้ง การเน้นส่วนไหล่มากเกินไปทำให้ดูเกินจริง รูปแบบนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของสไตลยุโรป โดยเฉพาะอิตาลี หรือ เรียกว่า (Victorian look), high-cut armholes, มีช่องว่างในช่วงวงแขนมากพิเศษทำให้เคลื่อนไหวได้มาก
บทความหัวไหล่สูทจาก: https://www.dgrie.com/blog/suits-shoulder/
7. การเลือกรูปแบบกางวางรังกระดุมแขนเสื้อสูท (Men’s Sleeve Buttons)
“จุดเล็กๆที่ปลายแขนแต่กลับเพิ่มสไตล์ของคุณได้อย่างมาก!” Men’s Sleeve Buttons: รูปแบบการวางกระดุมแขนเสื้อสูท แบบไหนที่เหมาะกับคุณ ดีเทลเล็กๆที่สามารถบ่งบอกความมีสไตล์ของคุณได้อย่างลงตัวนั้นก็คือ “รังกระดุม” และ “เม็ดกระดุม” ที่ปลายแขนเสื้อแจคเก็ต โดยเฉพาะเสื้อสูทที่เป็นแบบสั่งตัดที่สามารถปรับดีไซน์ให้ได้ตามที่คุณต้องการ โดยมีแนวทางการเลือกดังนี้
7.1 ตำแหน่งการวางกระดุม
การวางกระดุมนั้นเป็นอีกส่วนที่สามารถกำหนดได้โดยที่การวางกระดุมนั้นจะมีทั้งหมด 3 แบบด้วนกันคือ
a.) แบบเรียงกันห่างๆ (Spaced)
รูปแบบนี้จะไม่ค่อยได้เห็นหรือทำกันบ่อยมากนักเพราะเหมาะกับสูทที่มีกระดุมแขน 3 เม็ดเท่านั้นเพราะ หากเป็น 4 เม็ดจะทำให้ดูแถวกระดุมนั้นยาวเกินไป
b.) แบบชนกันพอดี (Kissing)
แบบนี้จะเป็นแบบที่นิยมมากที่สุดโดยปรกติทั่วไป สำหรับสูทมาตรฐานก็มักจะเป็นแบบ Kissing
c.) แบบซ้อนกัน (Stacked)
แบบซ้อนกันจะเป็นแบบที่นิยมเป็นอันดับสองโดยทั่วไปการเลือกกางวางกระดุมจะขึ้นอยู่กับความชอบล้วนๆ เนื่องจากการใช้งานไม่ต่างกัน
7.2 จำนวนกระดุม
โดยปรกติสูทผู้ชายมักจะมีกระดุมปลายแขนอยู่ที่ 4 เม็ด หรือเม็ดใหญ่ที่เป็นแบบโลหะก็สามารถลดเหลือ 3 เม็ดได้ตามสมควร
8. สี/ประเภท ของกระดุม (Suits Button)
– สีของกระดุมก็เป็นอีกส่วนที่เราสามารถเลือกได้ แต่หากเป็นเสื้อสูททำงานหรือทางการทั่วๆไปก็แนะนำให้เป็นสีตามเนื้อผ้าของสูทเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นแจคเก็ตลำลอง ก็สามารถเล่นได้อย่างเต็มที่
8.1 ลักษณะของแบบกระดุมจะแบ่งเป็น
a.) กระดุมพลาสติก (Polyester buttons)
b.) กระดุมโลหะ (Metal buttons)
c.) กระดุมเขาสัตว์ (Horn buttons)
d.) กระดุมเปลือกหอย (Mother of pearl buttons)
e.) กระดุม Corozo buttons (จากต้น Corozo Palm)
f.) กระดุมปั่มด้วยผ้าตัวเสื้อ (Covered buttons)
โดยส่วนมากจะนิยมแบบ พลาสติก, เขาสัตว์, เปลือกหอย, กระดุมปั้มผ้าเสื้อ
8.2 สีของรังกระดุม
นอกเหนือจากกระดุมก็ยังมีรังกระดุมที่สามารถเลือกสีได้สำหรับสูทสีดำทางการก็สามารถให้รังกระดุมเม็ดสุดท้ายเป็นสีเทาได้ตามความเหมาะสมเพื่อเพิ่มดีเทลให้แตกต่าง แต่หากเป็นแบบลำลองก็สามารถใส่สีที่ตัดกันได้
บทความกระดุมแขนสูทจาก https://www.dgrie.com/blog/mens-sleeve-buttons/
9. การเลือกแบบซับในสูท / สีของซับใน (Our Guide To Jacket Linings)
อีกหนึ่งส่วนที่สำคัญไม่น้อยก็คือส่วนของซับใน ในการตัดเสื้อสูทนั้น คุณสุภาพบุรษสามารถที่จะเลือกรูปแบบของซับในให้ตรงความต้องการได้
การเลือกสไตล์ของซับในนั้นมีผลกับทรงของเสื้อสูทของคุณ สำหรับซับในแบบเต็มตัวจะใส่แล้วเป็นทรงสวยมากที่สุด สำหรับซับในแบบ Unlined เหมาะกับผ้าที่มีความหนามากกว่าผ้า Wool ทั่วๆไป ข้อควรระวังคือหากเลือกไม่เหมาะกับผ้าจะทำให้ทรงเสื้อค่อนข้างย้วยง่ายและไม่เป็นทรง
9.1 ลักษณะและรูปแบบอของซับใน (Lining Style)
สำหรับการเลือกแบบซับในนั้นโดยส่วนมาก จะมีทั้งหมด 2 รูปแบบ คือแบบ ซับในเต็มตัว “Full-Lining” และ แบบซับในครึ่งตัว “Half-Lining”
1. “Full-Lining” คือชิ้นหลังจะถูกปูด้วยซับในเต็มตัว สำหรับแบบ Full-Lining จะให้ความรู้สึกเป็นทางการมากที่สุด
2. “Half-Lining” สำหรับแบบ “ซับในครึ่งตัว” มักจะนิยมกับเสื้อสูทแบบลำลอง หลังโปร่ง เหมาะกับผ้าลินิน และ Sport Jackets, แต่ก็สามารถใช้กับสูทที่เป็นทางการได้เช่นกันหากต้องการน้ำหนักตัวสูทที่เบาลง
9.2 สีและลายของซับใน (Lining Style)
ในส่วนนี้จะขึ้นกับสไตล์ของแต่ละท่าน หากเป็นสูทที่เน้นความเป็นทางการ จะเป็นซับในที่เป็นสีเดียวกับสีเสื้อสูท เพื่อความสุภาพของการใช้งานมากที่สุด, สำหรับสูทที่เน้นความลำลอง (Sport Jacket, Casual Suits) ก็สามารถเล่นสีที่ Contrast ได้ตามต้องการ แต่หลายท่านก็ใช้ซับในสีที่ชอบกับสูทที่เป็นทางการเพราะข้อจำกัดทางการมองเห็น เนื่องจากซับในต้องมีการพลิกออกมา หรือตอนแขวนถึงจะมองเห็นเท่านั้น
10. เครื่องประดับ (Suits Accessories)
สุภาพบุรุษหลายท่านมองข้ามเรื่องเครื่องประดับของเสื้อสูทตัวเก่งของคุณไป ก็เปรียบเหมือนกับ “กางเกงมีหู แต่ไม่ใส่เข็มขัด” ไม่ว่าจะเป็น ผ้าเช็ดหน้า ที่กระเป๋าอกของเสื้อสูท, Lapel Pin (พินติดปก) สักอันเพียงเท่านี้เสื้อสูทที่ดู Classic ของคุณก็พร้อมเปร่งพลังออกมาแล้ว!
ก็จบกันไปแล้วสำหรับ 10 แนวทาง การตัดสูทให้ตรงใจ ตัดสูททั้งทีต้องตัดให้หล่อถูกใจ (ฉบับต้องปักหมุด) เสื้อสูทที่ดูง่ายๆ ก็เริ่มดูสนุกขึ้นมาบ้างแล้วใช้ไหมครับคุณสุภาพบุรษ!
DGRIE BESPOKE, CUSTOM MADE SUITS, PANT, SHIRT , OVERCOAT
ร้านตัดสูท ตัดเชิ้ต และ ตัดกางเกง, ตัดเสื้อโค้ท #DGRIE #BESPOKE #SUITS BANGKOK
ตัดสูทคุณภาพด้วยผ้านำเข้าจากอังกฤษและอิตาลี
“ตัดสูท ตัดเชิ้ต ตัดกางเกง คุณภาพด้วยผ้าชั้นเลิศ”
“ควบคุมการผลิตด้วยโรงงานของเราเอง”
สูทเจ้าบ่าว สูทงานแต่ง ตัดสูทเจ้าบ่าว ตัดสูทเพื่อนเจ้าบ่าว
สูทสั่งตัดเริ่ม 6,900 บาท
CONTACT US
LINE: @Dgrie
สาขาที่ให้บริการ
————————
DGRIE SATHORN
สาขาสาทร นราธิวาสราชนครินทร์ ซอย 15 หัวมุมติดถนนใหญ่
0893550555
เปิด 11.00-20.00น.
Google Map: DGRIE SATHORN
https://goo.gl/maps/q3hANKBHV5v
————————-
DGRIE SIAMSQUARE SOI 2
สยามสแควร์ ซอย 2
026584899
เปิด 11.30-20.30น.
Google Map: DGRIE SIAM
https://goo.gl/maps/qMuiKk1t1UL2
————————-
“WE ALSO CARRY WELL KNOW BRANDS SUCH AS VITALE BARBERIS CANONICO, HOLLAND & SHERRY, DORMEUIL, GUABELLO, MARZONI, BAIRDMCNUTT IRISH LINEN, HARRISONS OF EDINBURGH, DRAPERS, TALLIA DI DELFINO, SCABAL, THOMAS MASON, Piacenza 1733, Ermenegildo Zegna, Loro piana “